วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติ อะตอม

ประวัติ อะตอม

ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตศักราช - เดโมคริตุส นำเสนอแนวความคิดแรกเกี่ยวกับอะตอม นักปรัชญากรีก เดโมคริตุส (Democritus) และ ลุยซิปปุส (Leucippus) ได้เสนอทฤษฎีแรกเกี่ยวกับอะตอม ว่า อะตอมแต่ละอะตอมนั้นมีรูปร่างแตกต่างกัน ในลักษณะเดียวกับก้อนหิน ซึ่งรูปร่างนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของอะตอม
-                   1803 - จอห์น ดัลตัน (John Dalton) - พิสูจน์ว่าอะตอมนั้นมีอยู่จริง จอห์น ดัลตัน ได้พิสูจน์ว่าสสารประกอบขึ้นจากอะตอม แต่ก็ไม่ได้รู้ว่าอะตอมนั้นมีรูปร่างอย่างไร ซึ่งงานของดัลตันนี้ขัดแย้งกับ ทฤษฎีของการแบ่งแยกได้อย่างไม่สิ้นสุด (infinite divisibility) ซึ่งได้กล่าวว่า สสารนั้นสามารถถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยได้เสมอ อย่างไม่สิ้นสุด
-                   1897 - โจเซฟ จอห์น ทอมสัน (Joseph John Thomson) - ค้นพบอิเล็กตรอน
ความเชื่อที่ว่า อะตอม เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสาร นั้นคงอยู่จนกระทั่งได้มีการพิสูจน์ให้เห็นว่าอะตอมนั้นยังประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กกว่า โดยทอมสัน นั้นเป็นผู้ค้นพบอิเล็กตรอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอะตอมนั้นยังสามารถแบ่งแยกเป็นส่วนย่อยได้อีก
-                   1898 - Marie und Pierre Curie - กัมมันตภาพรังสี
-                   1900 - Ludwig Boltzmann - ทฤษฎีปรมาณู
-                   1900 - Max Planck - ควอนตัม
-                   1906 - เออร์เนสท์ รัทเธอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) - นิวเคลียส
-                   1913 - Niels Bohr - แบบจำลองแบบเป็นระดับชั้น
-                   1929 - Ernest O. Lawrence - เครื่องเร่งอนุภาค ไซโคลตรอน (cyclotron)
-                   1932 - Paul Dirac und David Anderson - แอนตี้แมทเทอร์
-                   1964 - Murray Gell-Mann - ควาร์ก
-                   1995 - Eric Cornell und Carl Wieman - โบส-ไอน์สไตน์ คอนเดนเสท
-                   2000 - CERN - โบซอนฮิกส์
-                   2002 - Brookhaven - สารประหลาด

เผด็จการทหาร (รัฐบาลทหาร)

                           เผด็จการทหาร (รัฐบาลทหาร) คือ  แบบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองอยู่กับกองทัพ
ลักษณะและการแบ่งหมวดหมู่
      รัฐบาลเผด็จการทหารส่วนมากจัดตั้งหลักจากรัฐประหารซึ่งล้มล้างอำนาจรัฐบาลชุดก่อนหน้า
ตัวอย่างที่แตกต่างออกไปคือระบอบการปกครองซัดดัม ฮุสเซนในประเทศอิรักซึ่งเริ่มจากรัฐที่ปกครอง
โดยรัฐบาลพรรคเดียวโดยพรรคบะอัธ แต่เมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลดังกล่าวเปลี่ยนไปเป็น
เผด็จการทหาร (ตามที่ผู้นำสวมเครื่องแบบทหารและกองทัพก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในรัฐบาล)
      ในอดีต เผด็จการทหารมักจะอ้างความชอบธรรมให้แก่พวกเขาเองว่าเป็นการสร้างความสมานฉันท์
แก่ชาติ และช่วยชาติให้พ้นจากภัยคุกคามของ "อุดมการณ์ที่อันตราย" อันเป็นการสร้างการข่มขวัญ
ในละตินอเมริกา ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์และ ทุนนิยม ถูกนำเป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร
คณะทหารมักจะกล่าวว่าพวกเขาเป็นพวกไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด เป็นคณะที่มีความเป็นกลาง
สามารถจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆได้ และกล่าวว่านักการเมืองที่มาจากประชาชนนั้น
คดโกงและไร้ประสิทธิภาพ ลักษณะร่วมประการหนึ่งของรัฐบาลทหาร คือการประกาศใช้กฎอัยการศึก
หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

รัฐบาลทหารมักจะไม่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน และมักใช้วิธีการปิดปากศัตรูทางการเมือง
รัฐบาลทหารมักจะไม่คืนอำนาจจนกว่าจะมีการปฏิวัติโดยประชาชนละตินอเมริกา, อัฟริกา และ ตะวันออกกลาง เป็นพื้นที่ที่เป็นเผด็จการทหารบ่อยครั้ง เหตุผลหนึ่งคือทหารมีการประสานงานร่วมกัน และมีโครงสร้างของสถาบันที่เข้มแข็งกว่าสถาบันทางสังคม
ของประชาชนตั้งแต่ทศวรรษที่ 199 เผด็จการทหารเริ่มลดลง เหตุผลหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เผด็จการทหารไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และรัฐบาลทหารมักไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมประเทศไม่ให้เกิดการต่อต้านได้ นอกจากนี้ การสิ้นสุดสงครามเย็นที่มีผลให้สหภาพโซเวียตสลายตัว
ทำให้ทหารไม่สามารถใช้ข้ออ้างเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ในการอ้างความชอบธรรมของตนเองได้
อีกต่อไป
กรณีตัวอย่าง
รัฐที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหารในปัจจุบัน แสดงให้เห็น
รายการประเทศข้างล่างอาจจะไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอาจจะขาดข้อมูลก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

ตัวอย่างประเทศที่ปกครองโดยกองทัพในปัจจุบัน (2550)

ประเทศลิเบีย     - เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2512 กองทัพทำรัฐประหารและยังอยู่ในอำนาจ
ประเทศมอริเตเนียเมื่อ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2548 กองทัพทำรัฐประหาร
ประเทศพม่า - กองทัพกุมอำนาจเมื่อพ.ศ. 2495
ประเทศปากีสถาน (ประธานาธิบดีครองอำนาจโดยรัฐประหารในปีพ.ศ. 2542 แต่สถาบัน
การปกครองของพลเรือนกลับมารับตำแหน่งเดิมอย่างช้าๆ)
ประเทศไทย - กองทัพทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันจึงอยู่ภายใต้
เผด็จการทหาร ขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างเตรียมทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
โดยฝ่ายต่อต้านเห็นว่าได้รับการชี้นำโดยคณะรัฐประหารและสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้ง
โดยคณะรัฐประหาร และกำหนดให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในเดือนธันวาคม 2550
ประเทศฟิจิ - ทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549
(ข้อมูลจากเว็บ วิถีพิเดีย
ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
 ลัทธิฟาสซิสต์ เป็นหนึ่งในลักษณะการปกครองของรัฐบาล ในลัทธิฟาสซิสต์ซึ่งปรากฏใน
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 , ประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าตน,บุคคล ลัทธิฟาสซิสต์จะมีบุคคลคนหนึ่ง
ปกครองประเทศเรียกว่า ผู้นำเผด็จการ, ผู้มีสิทธิในการควบคุมรัฐบาล และประชาชน.
ถึงแม้ว่าลัทธิฟาสซิสต์จะระบุว่าประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่สุด, แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ผู้นำแบบเผด็จการต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดแม้แต่กับประชาชนเองก็ตาม
ลัทธิฟาสซิสต์ นั้นแตกต่างจากระบอบคอมมิวนิสต์ ลัทธิฟาสซิสต์ ไม่ต้องการจะเป็นเจ้าของที่ดิน
หรือโรงงานผลิตสินค้า แต่ลัทธิฟาสซิสต์จะทำง่นอย่างใกล้ชิดกับสิ่งเหล่านั้นและใช้เป็นทรัพยากร
ในการผลิตกองทัพที่แข็งแกร่ง หรือส่วนอื่นของลัทธิฟาสซิสต์ มันสำคัญมากที่โรงเรียน
ทุกโรงในประเทศจะสอนเด็กว่าผู้นำเผด็จการเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในโลก
เมื่อโตขึ้นแบบอย่างที่ควรทำคือเข้ารวมกลุ่มกับลัทธิฟาสซิสต์ มันมักจะมีการสังหารหมู่เกิดขึ้น
เมื่อมีการไม่เห็นด้วยกับลัทธิฟาสซิสต์ ผู้นำลัทธิฟาสซิสต์มักจะเป็นบุคคลที่มียศสูงในกองทัพ
ถึงแม้พวกเขาจะไม่มียศมาก่อนก็ตาม และมักปรากฎตัวในชุดกองทัพบกหรือกองทัพเรือต่อ
หน้าสาธารณะชน  ลัทธิฟาสซิสต์ ถูกใช้ขึ้นครั้งแรกโดย
เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำเผด็จการชาวอิตาลี
ปี พ.ศ. 2465 ถึงปี พ.ศ. 2486 รัฐบาลของ เอ็นกิลเบริต ดอลฟิว ในออสเตรีย และ
 
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ใน เยอรมันนี   นายพล โตโจ  นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
 ช่วงที่มีอำนาจ และใช้อำนาจ  เข่นฆ่ารุกราน อย่างโหดร้าย กับผู้คนเป็นจำนวนมาก
 

ระบอบประชาธิปไตย

ระบอบประชาธิปไตย
ความหมายของประชาธิปไตย
               
1.ความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า Democratia ซึ่งประกอบด้วยคำ  2  คำ  คือ Demos กับ kratein คำว่า Demos หมายถึง ประชาชน และ Kratein หมายถึง การปกครอง ฉะนั้นประชาธิปไตย (Demoskratia) จึงหมายถึง ประชาชนปกครอง หรือการปกครองโดยประชาชน
                2.ความหมายที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค นักปรัชญาการเมืองหลายท่านที่ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการปกครองที่ดีก็คือ การปกครองที่เคารพสิทธิและความเสมอภาคของมนุษย์ เชื่อว่าสมาชิกของสังคมทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมโดยส่วนรวม ยอกจากนี้ระบบการเมืองจะต้องเปิดโอกาส หรือให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการดำเนินการใดๆ ภายใต้กฎระเบียบของสังคมด้วย ซึ่งรูปแบบการปกครองดังกล่าว ก็คือระบอบประชาธิปไตย
                3.ความหมายที่เน้นการเข้ามีส่วนร่วมหรือเสียงของประชาชน ในเมื่อระบอบประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับประชาชนในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ใช้อำนาจนี่ผ่านทางองค์กรทางการเมืองต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขของตนเอง บาทบาทของประชาชนในทางการเมือง จึงมีความสำคัญมากในระบอบนี้ จนมีผู้กล่าวว่า ประชาธิปไตยนั้นถือว่าประชาชน คือ เสียงสวรรค์ เป็นระบอบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมดำเนินการเพื่อสร้างสรรค์สังคมของตนเอง กิจกรรมการเข้าร่วมทางการเมืองของประชาชน อาจเป็นทางอ้อมโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์เข้าไปทำหน้าที่แทน หรืออาจเป็นทางตรง เช่นการประท้วง การร้องเรียน ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้รัฐบาลรับทราบถึงปัญหา เป็นต้น
                4.ความหมายที่เน้นเจตนารมณ์ของประชาชน ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น แห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมายของคำว่าประชาธิปไตยไว้อย่างกระชับและคมคายว่า เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ผู้นำทางการเมืองเป็นผู้ที่ถือเสมือนเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชน รัฐบาลเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก หรือได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ รัฐบาลจะคงอยู่ในอำนาจต่อไปได้เมื่อวาระสิ้นสุดลง ก็โดยการแสดงให้ประชาชนผู้เลือกตั้งเห็นว่า รัฐบาลสามารถสนองตอบต่อเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น
                5.ความหมายตามที่มาและขอบเขตอำนาจ มีผู้ให้ความหมายของประชาธิปไตยไว้ว่า อำนาจสูงสุดมาจากประชาชน ทั้งนี้โดยอ้างว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ   โดยธรรมชาติ พวกเขาสามารถที่คิดและกระทำการใดๆ ได้ แต่เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคม เขาจะสละสิทธิ์และอำนาจบางประการให้กับผู้ปกครอง เพื่อใช้อำนาจนั้นดำเนินการภายในกรอบที่กำหนด ฉะนั้นเราจะพบว่ารัฐบาลในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยนั้นจะมีอำนาจที่มีขอบเขต
                จากความหมายอันหลากหลายของคำว่า ประชาธิปไตย นี้ จึงอาจสรุปความหมายหลักได้ 3 ประการ คือ
                    1.ความหมายในเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง
                    2.ความหมายในเชิงรูปแบบการปกครอง
                    3.ความหมายในเชิงวิถีวิชีวิตของประชาชน